เนื้อหาในการสำภาษณ์

เนื้อหาในการสำภาษณ์
          จากการสัมภาษณ์ได้พบว่าคุณสุปรียา ปากเมย มีอาชีพทำเกษตรกรรม เมื่อว่างเว้นจากการทำเกษตรกรรม ก็มีการประกอบอาชีพเสริม เช่นการทอสื่อกก กันมาก ทั้งครัวเรือนได้ยึดเป็นอาชีพหลัก สร้างรายได้ให้กับครอบครัวซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวที่สืบทอดมาตั้งแต่โบราณ ซึ่งมีการพัฒนาลวดลายบนผืนเสื่อเป็นลวดลายต่างหลากหลาย มีความสวยงาม โดดเด่น ดังนั้นเพื่อเป็นการอนุรักษ์ภูมปัญญาท้องถิ่น ให้สามารถยึดเป็นอาชีพหลักและอาชีพรองได้ การทอเสื่อกกนั้นมีการสืบทอดมาตั้งแต่สมัย ปู่ย่า ตายาย โดยเริ่มแรกมีการใช้กกเหลี่ยม หรือที่เรียกว่าผือนา ยังไม่มีการย้อมสีผลิตภัณฑ์ หรือทำลวดลาย ส่วนใหญ่นำมาใช้ในครัวเรือน ส่วนในปัจจุบันนิยมใช้กกกลมมาใช้แทนกกเหลี่ยม เนื่องจากหาง่ายในแหล่งธรรมชาติ และเมื่อนำมาทอเสื่อแล้ว มีคุณสมบัติเหนียว และเป็นมันวาว ผู้เรียนได้เกิดความตระหนักและเห็นคุณค่าภูมิปัญญาการทอเสื่อกกได้เป็นอย่างดี
ข้อมูลเกี่ยวกับต้นกก
          ต้นกกที่ใช้ทำเสื่อ เรียกว่า กกลังกา หรือต้นกกกลม หรือ ไหล มีอยู่ทั่วไปในทุกจังหวัดในภาคอีสาน และมีมากในจังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด จังหวัดระยอง จังหวัดชลบุรี ต้นกกเป็นหญ้าชนิดหนึ่งมีหัวเหมือนข่า แต่แก่เล็กกว่า แล้วแตกแขนงเป็นต้นตามหัวของมัน อย่างเดียวกับข่า กก มี 2 ชนิด คือ กกพื้นเมือง ตามภาษาพื้นเมือง เรียกว่า “กกเหลี่ยม” หรือ “ผือนา” ที่เรียกเช่นนี้ เพราะลักษณะลำต้นเป็นเหลี่ยมสามเหลี่ยม ผิดกว่าต้นหญ้าธรรมดา ผิวของกกเหลี่ยมแข็งกรอบ และไม่เหนียว เมื่อนำมาทอเป็นผืนเสื่อแล้วขัดไม่เป็นเงา เฉพาะอย่างยิ่งใช้ไม่ทนทาน เพราะฉะนั้นจึงไม่มีผู้นิยมใช้กกชนิดนี้มาทำเป็นเสื่อมากนัก กกพันธุ์ลังกา ภาษาพื้นเมือง เรียกว่า “กกกลม” หรือ “ไหล” ที่เรียกเช่นนี้ เนื่องจากลำต้นของมันกลม ผิวอ่อนนุ่ม เหนียว ไม่กรอบ เมื่อนำมาทอเป็นเสื่อแล้วนิ่มนวลน่าใช้ ขัดถูก็เป็นมันน่าดู จึงมีผู้ใช้กกกลมมาทอเสื่อกันมาก
ประโยชน์ของต้นกกมีหลายอย่าง ดังนี้
          ทำเป็นเสื่อสำหรับนอน สำหรับปูพื้นในห้องรับแขกแทนพรม และปูลาดตามพื้นโบสถ์ วิหาร เพื่อความสวยงาม เป็นต้น ทำเป็นกระเป๋ารูปต่าง ๆ ได้หลายแบบ แล้วแต่ผู้คิดประดิษฐ์แบบต่าง ๆ กัน เช่น กระเป๋าสตางค์ กระเป๋าหิ้วของสตรี ทำเป็นหมอน เช่น หมอนรองที่นั่ง หมอนพิงพนักเก้าอี้ ทำเป็นกระสอบ เรียกว่า กระสอบกกทำเป็นเชือกสำหรับมัดของที่ห่อแล้ว
การปลูก
          1.การเลือกดิน กกชอบขึ้นในที่ดินเลน แต่ต้องอยู่ในที่ลุ่ม มีน้ำขังเสมอ หรือน้ำขึ้นถึงทุกวันได้ยิ่งดี ระดับในนากก ประมาณ 25 – 30 เซนติเมตร
          2.การเตรียมที่ดิน เมื่อเลือกหาพื้นที่ดินพอสำหรับปลูกกกได้แล้ว จัดการถากถางให้ดินซุยและให้หญ้าตายเช่นเดียวกับนาข้าว เพราะหญ้าเป็นศัตรูของกกเหมือนกัน ทั้งต้องทำคันนาไว้สำหรับขังน้ำไว้เช่นเดียวกับการทำคันนาข้าว ที่ ๆ สำหรับปลูกกกนี้ เรียกว่า นากก
          3.การปักดำ การดำนากก เหมือนการดำนาข้าว ใช้หัวกกที่ติดอยู่กับลำต้นตัดปลายทิ้งแล้วให้เหลือยาวเพียง 50 เซนติเมตร ซึ่งซื้อหรือแยกมาจากนากกของตน มัดเป็นกำ ๆ นำเอาพันธ์เหล่านั้นไปยังนากกที่เตรียมแล้ว แยกออกเป็นหัว ๆ ดำลงในนากก ห่างกันประมาณ 20 – 25 เซนติเมตร แต่การดำนั้นจะต้องพิจารณาถึงพื้นที่ด้วย คือ หมายความว่า ถ้าที่ดินดี มีปุ๋ยมาก ก็ดำห่างหน่อย ถ้าที่ดินไม่ดีก็ให้ดำถี่ ๆ หน่อย พื้นที่ 1 ไร่ต้องใช้หัวกกประมาณ 600 – 700 กำ
              4.การบำรุงรักษา เมื่อเสร็จจากการดำเรียบร้อยแล้ว ชางนากกก็หมดภาระอันหนัก มีแต่งานเล็ก น้อย คือการทำรั้ว รั้วนี้เป็นรั้วป้องกันวัวและควายที่จะมาเหยียบย่ำในนากก หรือกัดกินต้นกกที่ลัดขึ้นมาการถอนหญ้า การถอนหญ้าในนากก นานๆจะมีการถอนหญ้ากันสักครั้ง เมื่อเห็นว่ามีหญ้าขึ้นมาก บางแห่งไม่ต้องถอนหญ้าเลย เพราะเมื่อกกขึ้นจนแน่นหนา หญ้าไม่สามารถขึ้นมาได้ การใส่ปุ๋ย ตามปกตินากกเมื่อดำลงไปแล้วครั้งหนึ่ง ไม่ต้องดำอีกตั้งหลายๆปี บางแห่งไม่ต้องดำเลยตั้ง 10 ถึง 15 ปี เพราะตัดต้นกกไปแล้ว หัวกกยังอยู่จะแทงหน่อขึ้นมาเป็นลำต้นอีก และเมื่อเห็นว่ากกที่ขึ้นมาใหม่นั้นไม่งามควรหาปุ๋ยใส่ลงในนากก ปุ๋ยที่กกชอบมากที่สุดนั้น คือ ปุ๋ยขี้เป็ด ปลาเน่า และขี้น้ำปลา เป็นต้น ถ้าหากว่าไม่ต้องเป็นการเปลืองมากบางท่านใช้ปุ๋ยขี้ควายก็ใช้ได้ การซ่อมแซม เมื่อเห็นว่าตอนไหนกกห่าง หรือหัวกกตาย ไม่มีลำต้นแทงหน่อขึ้นมา ให้ใช้หัวกกดำแซมลงไป มากน้อยตามแต่สมควร การเก็บเกี่ยว เมื่อเห็นต้นกกที่ดำมาแก่พอตัวแล้ว (ประมาณ 3 – 4 เดือน) สังเกตได้จากดอกกกมีสีเหลือง โดยมากมักจะตัดกกกันในฤดูฝน เมื่อกกแก่เต็มที่แล้ว ถ้าไม่มีการตัดมันไปมันจะเน่าเหี่ยวแห้งฟุบลงไป พอฝนเริ่มตก ก็แทงหน่อลัดขึ้นมาใหม่เช่นนี้เสมอ ความยาวของต้นกกนั้นที่ยาวที่สุด ตั้งแต่ 140 – 180 เซนติเมตร
วัตถุดิบและส่วนประสม
      1.โฮงทอ
      2.ไม้ขื่อ
      3.ฟืม
      4.ด้ายไนล่อน
      5.ไม้สอด
      6.ไม้หัวเสื่อ
      7.กรรไกร
      8.ต้นกกตากแห้ง และย้อมสี
      9.ถังน้ำ
      10.ผ้าสำหรับห่อต้นกก
      11.สีย้อม
ขั้นตอนการผลิต
       1.ตัดต้นกกนำมากรีดตากแดดให้แห้ง
       2.นำมามัดเป็นกำเล็ก ๆแล้วนำมามัดรวมกันเป็นมัดใหญ่อีกที เก็บไว้ในที่แห้ง
       3.นำมาตากแดดอีกครั้งก่อนนำมาย้อมสี
       4.นำกกมาย้อมสีเสร็จตากแดดให้แห้ง
ขั้นเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ต้นกก
       1.ตัดหรือเก็บเกี่ยวต้นกกจากแหล่งธรรมชาติ ห้วย หนอง คลองบึงในท้องถิ่น
       2.นำต้นกกมาแยก และเลือกกกที่มีขนาดเท่ากัน
       3.นำต้นกกที่คัดเลือกได้ขนาดที่ต้องการแล้ว มาสอยเป็นสอง หรือ สามส่วน ตามขนาดลำต้นของต้นกก ถ้าเส้นเล็กผืนเสื่อกกจะทอได้ละเอียดและแน่นหนา)
       4.นำเส้นกกที่สอยเสร็จแล้วมาผึ่งแดดให้แห้ง ประมาณ 4 – 5 วัน
       5.นำเส้นกกที่ผึ่งแดดจนแห้งมามัดเป็นกำ ๆ ประมาณ 1 กำมือ เพื่อเตรียมนำไปย้อมสีตามต้องการ
การย้อมสี
       1.เลือกซื้อสีที่ต้องการ (สีเคมี มีขายตามร้านค้า)
       2.ออกแบบลายตามแบบที่ต้องการ
       3.ก่อไฟ นำปีบที่ใส่น้ำ ประมาณ ครึ่ง ปีบ ต้นน้ำจนเดือด
       4.นำสีที่ต้องการมาเทลงประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ แล้วคนให้สีละลาย
       5.นำเส้นกกที่มัดไว้ มัดละ 1 กำมือ ลงไปย้อมโดยใช้เวลาประมาณ 30–40 นาที การย้อมสีหลายสีควรใช้ปีบคนละใบ เนื่องจากสีจะปนกัน
       6.นำเส้นกกที่ย้อมแล้วมาล้างน้ำเปล่าแล้วนำไปผึ่งแดดให้แห้ง
การทอเสื่อกก
       1.กางโฮงทอเสื่อกก
       2.นำฝืนมาวางไว้ในช่องของโฮงทอ
       3.สอดด้ายไนล่อนใส่ในรูฟืมโดยรูแรกและรูสุดท้ายใช้ด้าย 4 เส้น จากนั้นก็สอดด้ายตามรูที่เรากำหนดแบบ
      4.วางไม้ขื่อบนหัวเสาโฮงทอเพื่อให้เส้นด้ายตรึง
      5.ลงมือทอโดยใช้ไม้สอดเส้นกกใส่ตามฟืมคว่ำหรือหงายสลับกัน ทุกครั้งคนทอจะเก็บปลาย(ไพ)กกสลับซ้ายขวา
      6.เมื่อทอได้พอขนาดจะต้องเก็บม้วนผืนเสื่อโดยยกไม้ขื่อลงแล้วม้วนเสื่อ
      7.เมื่อทอเสร็จก็ตัดเสื่อออกจากโฮง แล้วมัดปลายเชือกให้เรียบร้อย
      8.ใช้กรรไกรตัดตกแต่งปลายกกริมด้านซ้ายและด้านขวาให้เรียบร้อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น